
อันตรายที่ได้รับจากการทำงานนั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากการขาดความเอาใจใส่ในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัยทั้งในส่วนของตนเองและสถานประกอบการที่ไม่มีนโยบายเรื่องความปลอดภัย
รวมถึงการขาดประสิทธิภาพในการตรวจสอบและให้ความรู้ ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยโดยเคร่งครัด
สาเหตุโดยทั่วไปของอุบัติเหตุอาจแบ่งได้ดังนี้
1. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
อุบัติเหตุมักเกิดกับบุคคลที่เข้ามาทำงานใหม่ หรือต้องทำงานกับเครื่องมือและเครื่องจักรใหม่
โดยที่ไม่ได้รับคำอธิบายถึงการปฏิบัติและการทำงานของเครื่องมือและเครื่องจักรโดยละเอียด จึงมักจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยครั้ง
- การสอนและอธิบายเกี่ยวกับความปลอดภัยยังไม่ดีพอ
- กฎความปลอดภัยไม่มีผลบังคับใช้
- ไม่ได้วางแผนงานความปลอดภัยไว้เป็นส่วนหนึ่งของงาน
- ไม่ได้จัดการแก้ไขจุดอันตรายต่างๆ
- ไม่มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัย
- ขาดความรู้หรือไม่ได้ตระหนักในเรื่องความปลอดภัย
2. ความประมาท
- มีความเชื่อมั่นมากเกินไปเนื่องจากทำงานมาเป็นเวลานาน
- การละเลยและไม่เอาใจใส่หรือมีทัศนคติที่ผิดเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย
- ไม่ได้ถอดปลั๊กหรืออุปกรณ์เชื่อมต่อเครื่องป้องกันอันตรายหรือเครื่องกั้นเมื่อไม่ได้ใช้งาน
- ใช้เครื่องมือไม่ถูกต้องกับลักษณะของงานที่ทำ ถึงแม้ว่ามีเครื่องมือที่ถูกต้องและเหมาะสมให้เลือกใช้ได้ก็ตาม
- ยกของผิดวิธีจนเกิดอันตราย
- อิริยาบทการเคลื่อนไหวในการทำงานที่เป็นอันตราย เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การก้าว การปีนป่าย การหยอกล้อในระหว่างการทำงาน
3. สภาพร่างกายของบุคคล
- ร่างกายอ่อนเพลีย เนื่องจากไม่สบายแล้วมาเข้าทำงานหนัก
- หูหนวก
- สายตาไม่ดี
- โรคหัวใจ
- สภาพร่างกายไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ
4. สภาพจิตใจของบุคคล
- ขาดความความตั้งใจในการทำงาน
- ขาดความสามารถในการควบคุมอารมณ์ในขณะทำงาน
- ตื่นเต้นและตกใจง่าย
5. อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร มีข้อบกพร่อง
- ใช้เครื่องมือที่มีขนาดไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ
- ใช้เครื่องมือที่สึกหรอชำรุดหรือเสียหาย
- ใช้เครื่องมือที่ไม่มีด้ามจับหรือที่จับที่เหมาะสม
- ไม่ใช้เครื่องป้องกันอันตราย
- หยิบจับและใช้งานเครื่องมือที่ไม่มั่นคง
- ละเลยต่อการบำรุงรักษา
6. สภาพของบริเวณปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย
- แสงสว่างไม่เพียงพอ
- เสียงดังมากเกินไป
- การระบายอากาศที่ไม่เหมาะสม
- ความสกปรก
- บริเวณที่คับแคบ
- พื้นที่ใช้งานมีสารเคมีและเชื้อเพลิง
- พื้นลื่นเนื่องจากคราบน้ำมันหรือของเหลว
- หลุมและสิ่งกีดขวางทางเดิน
- การสูญเสียเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ
หลักความปลอดภัยในการทำงานโดยทั่วไป
- จะต้องยอมรับและปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของโรงงานและบริษัทโดยเคร่งครัด
- ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ถูกขนาด และถูกกับประเภทงาน
- แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงงาน และใช้เครื่องป้องกันอันตรายทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
- หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน
- เก็บรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ
- รักษาความสะอาดทางเดินในโรงงาน และติดป้ายแสดงบริเวณปฏิบัติงานที่มีอันตรายให้ชัดเจน
- รู้จักตำแหน่งหรือที่ติดตั้งเครื่องดับเพลิงตลอดจนวิธีการใช้
- ปฏิบัติตามคำเตือนหรือเครื่องหมายแสดงอันตรายต่างๆ ภายในโรงงาน
- ไม่ควรวิ่งหรือหยอกล้อกันสถานที่ทำงาน
เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึงอุปกรณ์ที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือหลายส่วนพร้อมกัน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะส่วนนั้นไม่ให้เกิดอันตรายจากสภาพแวดล้อมหรืออุบัติเหตุในการทำงาน
Hi, this is a comment.
To get started with moderating, editing, and deleting comments, please visit the Comments screen in the dashboard.
Commenter avatars come from Gravatar.